วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

❤️บันทึกครั้งที่  11❤️
วันศุกร์ ที่24 เมษายน
เวลา 12.30 - 15.30 น.

🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈

สิ่งที่ได้เรียนรู้
คิดสร้างสรรค์
   ❤️❤️วิทยาการทางด้านสมองทำให้เราทราบได้ว่า คนเรามีศักยภาพทางการคิด เกิดจากสมองทั้ง 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวาของเราทำงานและพัฒนาการคิดตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ สมองทั้งสองซีกจะทำงานเชื่อมโยงไปพร้อมกันในทุกกิจกรรมการคิด การพัฒนาสมองของเด็กจึงจัดผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้สมองทั้งสองซีกทำงานสมดุล
 💜💜กิจกรรมสร้างสรรค์จึงเป็นกิจกรรมที่จะช่วยเชื่อมโยงการทำงานของสมองและพัฒนาจินตนาการซึ่งสัมพันธ์กับประสบการณ์ของเด็ก เด็กจะแสดงออกมาเป็นภาพ รูปร่าง และรูปทรง จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ฝึกสมองจากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีหลากหลายแบบ เป็นการให้เด็กกระทำ และสังเกตซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เด็ก เด็กจะเกิดความสามารถในการพัฒนาความคิดรวบยอดและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ได้ต่อไป อีกทั้ง กิจกรรมสร้างสรรค์ยังสามารถพัฒนาจิตเด็กได้อย่างมีคุณภาพ คือให้เป็นผู้มีความอดทนเพราะต้องสร้างสรรค์ผลงานของตนจนสำเร็จ จะสร้างความภูมิใจต่อตนเองหรือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองได้ เนื่องจากการเปิดโอกาสให้เด็กพึ่งตนเองในการทำสิ่งต่างๆ ตามความสามารถ เป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงความมีคุณค่าในตนเอง เด็กจะเป็นผู้มีความมั่นใจและกล้าที่จะผจญปัญหา ในขณะเดียวกัน เด็กจะได้รับการพัฒนาทางสังคม เพราะเด็กจะได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเพื่อน เด็กจึงเรียนรู้การแก้ปัญหาการทำงาน รู้จักปรับปรุงหรือเปลี่ยน แปลงตนเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคม เมื่อเด็กสร้างผลงานสิ้นสุดแล้ว การชักชวนให้เด็กชื่นชมผลงานของตนเอง เป็นการปลูกจิตสำนึกเด็กให้เห็นคุณค่าของศิลปะที่ตนสร้างขึ้น และฝึกฝนการแสดงความชื่นชมในความสวยงาม สร้างความเพลิดเพลินและความสุขจากสิ่งใกล้ๆ ตัวเด็กเอง
💚💚บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์💚💚
1. การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
2. การจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์
3. การวัดประเมินผล
4. ให้ความสนใจเด็ก
5. การจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ สื่อวัสดุอุปกรณ์

💜คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย💜
1. มีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก 
2. มีความรอบรู้ มีความคิดสร้างสรรค์สนใจศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ
3. มีความสนใจรอบด้าน สนใจกิจกรรมต่างๆ 
4. อารมณ์ขัน มีสุขภาพจิตดีและช่วยความคิดอ่าน
5. มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
6. มีความคิดสร้างสรรค์ มีรสนิยมดีการแต่งกายเหมาะสมกับวัย
❤️คุณลักษณะของพ่อแม่ที่ช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก❤️
          อัมพวัน อัมพรสินธุ์(2554: 107) กล่าวว่า การอบรมเลี้ยงดูลูกเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พ่อแม่ที่มีบุคลิกภาพต่อไปนี้จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก
1. มีลักษณะยืดหยุ่น ใจกว้าง เป็นคนที่เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดความคิดเห็นของตนเป็นหลักจนเกินไป และเป็นคนมีเหตุผล
2. มีลักษณะไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์จนเกินไป จริงๆ แล้วการอยู่ในสังคมหรือกาทำงานหรือการอยู่ร่วมกันในครอบครัวก็ควรมีกฎเกณฑ์แต่กฎเกณฑ์ต่างๆ มักจะกำหนดขึ้นจากบุคคลกลุ่มหนึ่งในสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งบางทีก็ไม่เหมาะสมหรือถูกต้องทุกอย่าง ทุกประการสมอไป ดังนั้นการที่พ่อแม่ไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์จนเกินไป จะทำให้เด็กมีความเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงได้ มีการประยุกต์ได้
3. มีความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอๆ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเสมอ ไม่ว่าจเป็นลักษณะการทำงาน การแต่งกาย การจัดบ้าน การจัดสวนในบริเวณบ้าน การปรับปรุงที่ทำงาน
4. มีลักษทันสมัย รับรู้ และติดตาม รวมทั้งมีความคิดที่จะนำวิทยาการหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในบ้านหรือในกิจการงาน
5. มีลักษณะอยากรู้อยากเห็น สนใจค้นคว้าวิชาความรู้อยู่เสมอ อย่างต่อเนื่อง นใจไปดูการจัดนิทรรศการต่างๆ สนใจไปฟังความคิดจากการอภิปรายต่างๆ ตามความเหมาะสม
6. มีลักษณะไม่ยึดติดกับกิจวัตรประจำวันมากจนเกินไป มีความยืดหยุ่นได้ตามเหตุการณ์เฉพาะหน้าและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน แบบฉบับอันเป็นคุณลักษณะของพ่อแม่ที่มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์เหล่านี้ เมื่อเด็กๆ ได้ใกล้ชิดจะสามารถซึมซับเอาแบบฉบับนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของเขา
💙💙การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์💙💙
          ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าจะเกิดการปรับตัวให้ทันยุคสมัยและทันกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากพลเมืองมีความกล้าคิด กล้าที่จะใช้จินตนาการ และสามารถทำให้จินตนาการเป็นจริงและเกิดประโยชน์ได้ มนุษย์เรามีพลังความคิดเหมือนกัน แต่อาจมีความมากน้อยแตกต่างกัน พลังความคิดมี ประการด้วยกัน คือ
1. สามารถสะสมความรู้ (Absorb knowledge)
2. สามารถจดจำและนึกถึงความรู้นั้นได้ (Memorize and recall knowledge)
3. สามารถวิเคราะห์หาเหตุผลได้ (To reason)
4. สามารถสร้างสรรค์ (To reasonมองเห็นเหตุการณ์ไกล และสามารถนำเอาความคิดไปปฏิบัติได้
💛💛การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก💛💛
          ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, (2556: 224) กล่าวว่า ครูและผู้ปกครองควรปฏิบัติ ดังนี้
1สร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ บรรยากาศที่เต็มไปด้วยการยอมรับและการกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ รายการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดของตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่สกัดกั้นความคิดเห็น ให้ความสนใจในสิ่งที่เด็กทำ
2. แสดงความตื่นเต้นกับกิจกรรมที่ไม่ได้ตระเตรียมมาก่อนให้มากเท่ากับกิจกรรมที่วางแผนไว้แล้ว
3. สังเกตสิ่งที่เด็กแสดงออกซึ่งการสร้างสรรค์ตามธรรมชาติ
4. พยายามเข้าใจเด็กด้วยการตั้งคำถาม ศึกษารายกรณีเกี่ยวกับตัวเด็ก
5. จัดกิจกรรมระดมสมอง (Brainstorming) เป็นเทคนิคเพื่อรวบรวมทางเลือกและการแก้ปัญหา โดยให้โอกาสในการคิดอย่างอิสระที่สุดและไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ระหว่างการคิด เพราะการวิพากษ์วิจารณ์จะเป็นการขัดขวางความคิดสร้างสร้างสรรค์
6. การปลูกฝังความกล้าที่จะทำสิ่งสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคที่ใช้การตั้งคำถามง่ายๆ เพื่อให้คิดโดยจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นเมื่อฝึกฝนมากเข้าก็จะช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้มีมากขึ้น
7. การสร้างความคิดใหม่ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งโดยใช้การแจกแจงวิธีการในการแก้ปัญหาหนึ่งมาให้ได้ 10 วิธีการจากนั้นก็แบ่ง 10 วิธีการที่ได้ออกเป็นวิธีการย่อยๆ ลงไปอีก เพื่อให้ได้ทางเลือกหรือคำตอบที่ดีที่สุด
8. การตรวจสอบความคิด เป็นเทคนิคที่ใช้การค้นหาความคิดหรือแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยการตรวจสอบความคิดของผู้ที่เคยทำไว้แล้ว
ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน   :  ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์พยายามหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ ให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการการคิด


❤️บันทึกครั้งที่  10❤️
วันศุกร์ ที่17 เมษายน
เวลา 12.30 - 15.30 น.

🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈

สิ่งที่ได้เรียนรู้

การบริหารสมอง (Brain Gym)


การบริหารสมอง (brain activation)  หมายถึง การบริหารร่างกายในส่วนที่สมองควบคุมโดยเฉพาะกล้ามเนื้อcorpus callosum ซึ่งเชื่อมสมอง 2 ซีกเข้าด้วยกันให้ประสานกัน แข็งแรงและทำงานคล่องแคล่ว จะทำให้การถ่ายโยงข้อมูลแลการเรียนรู้ของสมอง 2 ซีกเป็นไปอย่างสมดุลเกิดประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลาpความตึงเครียด ทำให้สภาพจิตใจเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้   เกิดความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีอารมณ์ขันเพราะคลื่นสมอง (brain wave) จะลดความเร็วลง
 ❤️❤️❤️ท่า Brain Gym แบ่งออกเป็นสี่กลุ่ม ดังนี้
        1. การเคลื่อนไหวสลับข้าง (Cross Over Movement) ทำให้การทำงานของสมองสองซีกถ่ายโยงข้อมูลถึงกันได้ดี เช่น ท่าแตะสลับ ท่าเลข 8 (คล้ายๆ ท่าช้าง)
        2. การยืดส่วนต่างๆของร่างกาย (Lengthening Movement) ทำให้ผ่อนคลายความตึงเครียดของสมองส่วนหน้าและส่วนหลัง เช่น ท่าโยคะต่างๆ ท่านกฮูก 
        3. การเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้น (Energizing Movement) เป็นท่าที่จะช่วยกระตุ้นการทำงานของกระแสประสาท เพื่อช่วยให้เรียนรู้ได้ดีขึ้น
        4. ท่าบริหารร่างกายง่ายๆ (Useful) เช่น หมุนคอ เป็นต้น
  💡💡💡ผู้คิดค้น  เบรนยิม (Brain Gym)  ที่ช่วยพัฒนาเส้นประสาทตามแนวทางธรรมชาติด้วยการเคลื่อนไหว  คือ  Dr.Paul Dennison   เป็นผู้คิดค้น วิจัยและพัฒนาตั้งแต่ปี 197 ระหว่างที่เป็นนักการศึกษา เพื่อช่วยเหลือคนที่ถูกระบุว่าไม่มีความสามารถในการเรียนรู้  นักประสาทวิทยาชาวอเมริกัน  ผู้คิดกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายชุดหนึ่ง ประกอบด้วยท่าง่ายๆ 26ท่า ที่จะช่วยให้คุณสามารถบูรณาการการทำงานของสมองเข้ากับการเคลื่อนไหวของร่างกายทุกส่วน ทำให้สมองทำงานได้ดียิ่งขึ้น รู้สึกผ่อนคลายและเป็นสุขมากขึ้น
        ดร.พอล ( Dr.Paul  Dennison) ได้ความคิดมาจากผลการทำวิจัยเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้เมื่อแรกเข้าโรงเรียนเช่น สะกดไม่ถูก อ่านหนังสือไม่ออก หรือช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน ดร.พอล ( Dr.Paul  Dennison) พบว่าในวัยทารก เด็กกลุ่มนี้มักจะข้ามขั้นตอนในการเรียนรู้ที่เด็กปกติทุกคนจะต้องผ่านไป เช่น เด็กบางคนพ่อแม่กลัวว่าจะล้มเจ็บก้นในช่วงตั้งไข่ จึงไปซื้อรถพยุงไม่ให้เด็กล้มตอนหัดยืน เด็กก็ข้ามขั้นตอนการตั้งไข่ไปสู่การเดินเตาะแตะเลย การข้ามขั้นตอนไม่ว่าจะโดยความตั้งใจของผู้ปกครองหรือเด็กเป็นเองจะมีผลต่อการเรียนรู้เมื่อถึงวัยเรียน
       นับเป็นการค้นพบนวัตกรรมใหม่ของการเรียนรู้ด้วยกิจกรรม Brain Gym  ซึ่งเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหว  ทุกวันนี้ Brain Gym ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในการนำไปใช้กับบุคคลปกติทั่วไป  มีการเรียนการสอนในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก
       ดร.พอล ( Dr.Paul  Dennison) เปรียบเทียบว่า การเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวร่างกายในวัยทารก 24 เดือนแรกเสมือนการสร้างซุปเปอร์ไฮเวย์ไว้ในสมอง เพื่อเตรียมรับการเรียนรู้ในอนาคต ดังนั้นถ้าบางช่วงไม่ได้รับการลงหลักปักฐานอย่างมั่นคง เมื่อถึงวัยเรียนจริงบางส่วนของเด็กจึงไปไม่ได้เร็วและไกลเท่าคนอื่น  เพราะไม่มีเส้นทางที่จะเรียนรู้ หรือถนนขาด รถก็เลยไปไม่ถึงที่หมายเช่นเดียวกัน  
      วิธีแก้ไขปัญหานี้ ดร.พอล ( Dr.Paul  Dennison)  จึงคิดท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายขึ้นมาชุดหนึ่ง เรียกว่า Brain Gym ซึ่งเด็กที่มีปัญหากลุ่มนี้ทำแล้วปัญหาทุเลาลงได้อย่างอัศจรรย์ ต่อมา พบว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ ก็สามารถใช้ท่าทั้ง 26 ท่านี้ได้เช่นกัน และในที่สุดก็พบอีกว่าพ่อแม่ของเด็กก็ใช้ได้ด้วยรวมทั้งคนที่ไม่มีลูกยังใช้ได้ดี จึงแพร่ไปนอกโรงเรียนและรอบๆ โลกด้วย
      หลักการของเบรนยิม คือการจูนสมองสองข้างก่อนเริ่มเรียน / ทำงาน  และช่วยฝึกให้นักเรียนมีสมาธิก่อนการเรียน เปิดสมองสู่การรับรู้ได้มาขึ้นทั้ง สมอง หู ตา และส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในหลายๆประเทศทั่วโลกยังได้ใช้ เบรนยิมในการฝึกให้กับพนักงานบริษัทต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานได้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด และมีความสุขกับการทำงานตลอดวันซึ่งสามารถไปฝึกได้ ณ สถานที่ทำงาน และจัดเป็นกิจกรรมภายใน / ภายนอกองค์กรได้ การฝึกในระดับวัยทำงานก็จะมีแบบมาเฉพาะไม่ซ้ำกัน (http://www.thaigoodview.com/node/131881)
     
วันนี้อาจารย์จึงให้ถ่ายคลิปสอนท่าโยคะง่ายสำหรับเด็ก
เสนอท่าต้นหญ้าพริ้วไหว

ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน   :  ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์พยายามหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ ให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการการคิด
❤️บันทึกครั้งที่  9❤️
วันศุกร์ ที่10 เมษายน
เวลา 12.30 - 15.30 น.

🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈

สิ่งที่ได้เรียนรู้
 👉👉👉ก่อนวันเรียนออนไลน์อาจารย์สั่งให้เตรียมกระดาษคนละ 2 แผ่น ในการทำกิจกรรมในวันนี้


❤️❤️งานชิ้นที่ 1 วาดภาพออกแบบความคิดสร้างสรรค์จากตัวเลข 1-9❤️❤️



💜💜งานชิ้นที่ 2 ตัดกระดาษเป็นรูปเรขาคณิตแล้วนำมาต่อกันตามจินตนาการ 💜💜


ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน   :  ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์พยายามหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ ให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการการคิด
 
❤️บันทึกครั้งที่  8❤️
วันศุกร์ ที่3 เมษายน
เวลา 12.30 - 15.30 น.

🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈

สิ่งที่ได้เรียนรู้
     วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานคู่ให้หากิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและวิเคราะห์กิจกรรมว่าสามารถประเมินได้อย่างไร
👉👉👉ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์

💋💋กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์💋💋

ชื่อกิจกรรมการเรียนรู้: ดินเหนียวเดี๋ยวแปลงกาย
ความคิดรวบยอด:เด็กเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสาร(ดินเหนียว)ดินเหนียวมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและลักษณะได้ เมื่อ บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้น ทำให้แห้ง หรือทำให้เปียก
จุดประสงค์หลักของกิจกรรม
1. สังเกต อธิบายลักษณะของดินเหนียวโดยใช้ประสาทสัมผัสและบอกลักษณะของดินเหนียวได้
2. สังเกต อภิปราย การเปลี่ยนแปลงของดินเหนียวเมื่อออกแรง บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้นสร้างสรรค์ทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ และนําเสนอผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
วัสดุอุปกรณ์ -ดิน  -น้ำ
ลำดับการจัดกิจกรรม
1. ครูนําเอาก้อนดินเหนียวมาให้เด็กสังเกตลักษณะของดินโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วถามเด็กๆว่า
“เด็กๆทราบหรือไม่ว่า สิ่งที่ครูนํามาให้เด็กสังเกตคืออะไร” (ดินเหนียว) มีลักษณะอย่างไร (เช่นเหนียว นุ่ม ละเอียด )
2.ครูถามเด็กว่าสามารถเอาดินเหนียวมาทำให้มีรูปร่างลักษณะของเล่น ของใช้แบบที่ครูนํามาให้เด็กๆ สังเกตได้หรือไม่ (ได้) ทำอย่างไร
- ถ้าเด็กๆยังไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เด็กๆลองออกแรงกด บีบ บิด ทุบ ดึง ดินเหนียว หรือปั้นเหมือนเวลาปั้นนดินนํ้ามัน (คุณครูสาธิตการออกแรงแบบต่างๆและให้เด็กทำพร้อมคุณครู)
- เด็กนําเสนอชิ้นงาน บอกผลการเปลี่ยนแปลงดินเหนียวเมื่อออกแรง บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้นและเปรียบเทียบวิธีการเปลี่ยนแปลงชิ้นงาน
3.ครูและเด็กๆ ร่วมกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ โดยครูกระตุ้นด้วยคําถามดังนี้
-  ดินเหนียวที่เด็กได้รับมีลักษณะอย่างไร เด็กทราบได้อย่างไร (มีสีดำเข้ม เปียกหรือชื้น จับเป็นก้อนนิ่ม เด็กบางคนอาจบอกได้ว่าเนื้อดินละเอียด)
-  เด็กๆ ทำอย่างไรบ้างจึงทำให้ดินเหนียวแปลงกายเป็นชิ้นงานสร้างสรรค์ต่างๆ
-  มีวิธีใดอีกบ้างที่ทำให้ดินเหนียวเปลี่ยนแปลง (เผาไฟ บี้ ขยำ)
-  ถ้าเรานําดินเหนียวไปวางไว้กลางแดดจะเกิดอะไรขึ้น (แห้ง แข็ง) และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าดิน
เหนียวที่ผึ่งแดดจะต่างจากดินเหนียวที่ไม่ผึ่งแดด
-  เด็กๆรู้สึกอย่างไรบ้างในวันนี้เราได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับดินเหนียว
การวัดและประเมินผล
1. ความคิดริเริ่ม สังเกตจากวิธีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของดินเหนียวโดยการออกแรงสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ
2. ความคิดคล่องแคล่ว สังเกตจากความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม และการตอบคำถามพร้อมทั้งแสดงวิธีการที่ได้จากความคิดนั้น เช่น (เด็กๆ จะทำอย่างไรได้บ้างให้ดินเหนียวแปลงกายเป็นชิ้นงานสร้างสรรค์ต่างๆ)
3. ความคิดยืดหยุ่น นอกจากบีบ บิด ทุบ ดึง ปั้น มีวิธีอื่นอีกไหมที่ทำให้ดินเหนียวเปลี่ยนแปลง
4.ความคิดละเอียดลออ สังเกตจากการอภิปราย การเปลี่ยนแปลงของดินเหนียวเมื่อออกแรง บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้นสร้างสรรค์ทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ และเด็กนําเสนอผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขั้นได้
ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน   :  ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์พยายามหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ ให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการการคิด
❤️บันทึกครั้งที่  7❤️
วันศุกร์ ที่27 มีนาคม
เวลา 12.30 - 15.30 น.

🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈

สิ่งที่ได้เรียนรู้


กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 
    กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้หรือหาความจริง หรือใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ดังนั้นการแสวงหาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือในทุกๆศาสตร์จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อตอบคำถามและเพื่อแก้ปัญหา 
ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา 
ขั้นที่ 2 สร้างสมมติฐาน 
ขั้นที่ 3 การทดลอง/การรวบรวมข้อมูล 
ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล 
ขั้นที่ 5 สรุปผลข้อมูล

❤️ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์❤️
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการจำแนกประเภท
3. ทักษะการสื่อความหมาย
4. ทักษะการแสดงปริมาณ
5. ทักษะการทดลอง

👉👉👉ประโยชน์ของจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
💛 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดแนวทางใหม่ๆในการดำเนินชีวิตและหนทาง
ใหม่ๆในการแก้ปัญหาชีวิตและการทำงาน
❤️ ก่อให้เกิดความสนุก เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องค้นหาวิธีการคิดใหม่ๆขึ้นมาทดแทน
ความคิดเก่าๆสำหรับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่มนุษย์ต้องคิดอะไรใหม่ๆอยู่เสมอย่อมเป็นเรื่องสนุกเพราะทำให้ชีวิตไม่จำเจ
💜 พัฒนาสมองของคนให้มีความฉลาดเฉียบคม การฝึกการคิดหรือพยายามคิดเรื่องที่
แปลกๆใหม่ๆเป็นประจำ จะทำให้เกิดความเฉียบแหลมในการคิดแก้ปัญหาต่างๆเพิ่มขึ้น
💙 สร้างความเชื่อมั่น ความน่านับถือและความพอใจในตัวเองขึ้นมา เมื่อใดก็ตามที่เรา
พัฒนาขีดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์จนสามารถเผชิญหน้าและแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างราบรื่น ก็จะกลายเป็นผู้นำทางด้านความคิดและเกิดความภูมิใจในตนเอง
   💟💟💟นอกจากนี้ความคิดสร้างสรรค์ยังช่วยยกระดับความสามารถ ความอดทนและความคิดริเริ่มของผู้นำให้เพิ่มมากขึ้นและยังเป็นการพัฒนาความสนใจในงาน พัฒนาการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และพัฒนาชีวิตให้ทันสมัยมากขึ้น

👉👉👉ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์

💋💋กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์💋💋

ชื่อกิจกรรมการเรียนรู้: ดินเหนียวเดี๋ยวแปลงกาย
ความคิดรวบยอด:เด็กเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสาร(ดินเหนียว)ดินเหนียวมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและลักษณะได้ เมื่อ บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้น ทำให้แห้ง หรือทำให้เปียก
จุดประสงค์หลักของกิจกรรม
1. สังเกต อธิบายลักษณะของดินเหนียวโดยใช้ประสาทสัมผัสและบอกลักษณะของดินเหนียวได้
2. สังเกต อภิปราย การเปลี่ยนแปลงของดินเหนียวเมื่อออกแรง บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้นสร้างสรรค์ทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ และนําเสนอผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
วัสดุอุปกรณ์ -ดิน  -น้ำ
ลำดับการจัดกิจกรรม
1. ครูนําเอาก้อนดินเหนียวมาให้เด็กสังเกตลักษณะของดินโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วถามเด็กๆว่า
“เด็กๆทราบหรือไม่ว่า สิ่งที่ครูนํามาให้เด็กสังเกตคืออะไร” (ดินเหนียว) มีลักษณะอย่างไร (เช่นเหนียว นุ่ม ละเอียด )
2.ครูถามเด็กว่าสามารถเอาดินเหนียวมาทำให้มีรูปร่างลักษณะของเล่น ของใช้แบบที่ครูนํามาให้เด็กๆ สังเกตได้หรือไม่ (ได้) ทำอย่างไร
- ถ้าเด็กๆยังไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เด็กๆลองออกแรงกด บีบ บิด ทุบ ดึง ดินเหนียว หรือปั้นเหมือนเวลาปั้นนดินนํ้ามัน (คุณครูสาธิตการออกแรงแบบต่างๆและให้เด็กทำพร้อมคุณครู)
- เด็กนําเสนอชิ้นงาน บอกผลการเปลี่ยนแปลงดินเหนียวเมื่อออกแรง บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้นและเปรียบเทียบวิธีการเปลี่ยนแปลงชิ้นงาน
3.ครูและเด็กๆ ร่วมกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ โดยครูกระตุ้นด้วยคําถามดังนี้
-  ดินเหนียวที่เด็กได้รับมีลักษณะอย่างไร เด็กทราบได้อย่างไร (มีสีดำเข้ม เปียกหรือชื้น จับเป็นก้อนนิ่ม เด็กบางคนอาจบอกได้ว่าเนื้อดินละเอียด)
-  เด็กๆ ทำอย่างไรบ้างจึงทำให้ดินเหนียวแปลงกายเป็นชิ้นงานสร้างสรรค์ต่างๆ
-  มีวิธีใดอีกบ้างที่ทำให้ดินเหนียวเปลี่ยนแปลง (เผาไฟ บี้ ขยำ)
-  ถ้าเรานําดินเหนียวไปวางไว้กลางแดดจะเกิดอะไรขึ้น (แห้ง แข็ง) และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าดิน
เหนียวที่ผึ่งแดดจะต่างจากดินเหนียวที่ไม่ผึ่งแดด
-  เด็กๆรู้สึกอย่างไรบ้างในวันนี้เราได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับดินเหนียว
การวัดและประเมินผล
1. ความคิดริเริ่ม สังเกตจากวิธีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของดินเหนียวโดยการออกแรงสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ
2. ความคิดคล่องแคล่ว สังเกตจากความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม และการตอบคำถามพร้อมทั้งแสดงวิธีการที่ได้จากความคิดนั้น เช่น (เด็กๆ จะทำอย่างไรได้บ้างให้ดินเหนียวแปลงกายเป็นชิ้นงานสร้างสรรค์ต่างๆ)
3. ความคิดยืดหยุ่น นอกจากบีบ บิด ทุบ ดึง ปั้น มีวิธีอื่นอีกไหมที่ทำให้ดินเหนียวเปลี่ยนแปลง
4.ความคิดละเอียดลออ สังเกตจากการอภิปราย การเปลี่ยนแปลงของดินเหนียวเมื่อออกแรง บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้นสร้างสรรค์ทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ และเด็กนําเสนอผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขั้นได้
ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน   :  ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์พยายามหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ ให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการการคิด

❤️บันทึกครั้งที่  11❤️ วันศุกร์ ที่24 เมษายน เวลา 12.30  - 15.30 น. 🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈 🎈🎈🎈🎈🎈🎈 🎈🎈🎈 สิ่งที่ได้เรียน...