วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

❤️บันทึกครั้งที่  8❤️
วันศุกร์ ที่3 เมษายน
เวลา 12.30 - 15.30 น.

🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈

สิ่งที่ได้เรียนรู้
     วันนี้อาจารย์ได้มอบหมายงานคู่ให้หากิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กและวิเคราะห์กิจกรรมว่าสามารถประเมินได้อย่างไร
👉👉👉ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์

💋💋กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์💋💋

ชื่อกิจกรรมการเรียนรู้: ดินเหนียวเดี๋ยวแปลงกาย
ความคิดรวบยอด:เด็กเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสาร(ดินเหนียว)ดินเหนียวมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและลักษณะได้ เมื่อ บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้น ทำให้แห้ง หรือทำให้เปียก
จุดประสงค์หลักของกิจกรรม
1. สังเกต อธิบายลักษณะของดินเหนียวโดยใช้ประสาทสัมผัสและบอกลักษณะของดินเหนียวได้
2. สังเกต อภิปราย การเปลี่ยนแปลงของดินเหนียวเมื่อออกแรง บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้นสร้างสรรค์ทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ และนําเสนอผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
วัสดุอุปกรณ์ -ดิน  -น้ำ
ลำดับการจัดกิจกรรม
1. ครูนําเอาก้อนดินเหนียวมาให้เด็กสังเกตลักษณะของดินโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วถามเด็กๆว่า
“เด็กๆทราบหรือไม่ว่า สิ่งที่ครูนํามาให้เด็กสังเกตคืออะไร” (ดินเหนียว) มีลักษณะอย่างไร (เช่นเหนียว นุ่ม ละเอียด )
2.ครูถามเด็กว่าสามารถเอาดินเหนียวมาทำให้มีรูปร่างลักษณะของเล่น ของใช้แบบที่ครูนํามาให้เด็กๆ สังเกตได้หรือไม่ (ได้) ทำอย่างไร
- ถ้าเด็กๆยังไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เด็กๆลองออกแรงกด บีบ บิด ทุบ ดึง ดินเหนียว หรือปั้นเหมือนเวลาปั้นนดินนํ้ามัน (คุณครูสาธิตการออกแรงแบบต่างๆและให้เด็กทำพร้อมคุณครู)
- เด็กนําเสนอชิ้นงาน บอกผลการเปลี่ยนแปลงดินเหนียวเมื่อออกแรง บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้นและเปรียบเทียบวิธีการเปลี่ยนแปลงชิ้นงาน
3.ครูและเด็กๆ ร่วมกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ โดยครูกระตุ้นด้วยคําถามดังนี้
-  ดินเหนียวที่เด็กได้รับมีลักษณะอย่างไร เด็กทราบได้อย่างไร (มีสีดำเข้ม เปียกหรือชื้น จับเป็นก้อนนิ่ม เด็กบางคนอาจบอกได้ว่าเนื้อดินละเอียด)
-  เด็กๆ ทำอย่างไรบ้างจึงทำให้ดินเหนียวแปลงกายเป็นชิ้นงานสร้างสรรค์ต่างๆ
-  มีวิธีใดอีกบ้างที่ทำให้ดินเหนียวเปลี่ยนแปลง (เผาไฟ บี้ ขยำ)
-  ถ้าเรานําดินเหนียวไปวางไว้กลางแดดจะเกิดอะไรขึ้น (แห้ง แข็ง) และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าดิน
เหนียวที่ผึ่งแดดจะต่างจากดินเหนียวที่ไม่ผึ่งแดด
-  เด็กๆรู้สึกอย่างไรบ้างในวันนี้เราได้เรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับดินเหนียว
การวัดและประเมินผล
1. ความคิดริเริ่ม สังเกตจากวิธีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของดินเหนียวโดยการออกแรงสร้างชิ้นงานตามจินตนาการ
2. ความคิดคล่องแคล่ว สังเกตจากความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม และการตอบคำถามพร้อมทั้งแสดงวิธีการที่ได้จากความคิดนั้น เช่น (เด็กๆ จะทำอย่างไรได้บ้างให้ดินเหนียวแปลงกายเป็นชิ้นงานสร้างสรรค์ต่างๆ)
3. ความคิดยืดหยุ่น นอกจากบีบ บิด ทุบ ดึง ปั้น มีวิธีอื่นอีกไหมที่ทำให้ดินเหนียวเปลี่ยนแปลง
4.ความคิดละเอียดลออ สังเกตจากการอภิปราย การเปลี่ยนแปลงของดินเหนียวเมื่อออกแรง บีบ บิด ทุบ ดึง ปั้นสร้างสรรค์ทำให้เป็นรูปร่างต่างๆ ตามจินตนาการ และเด็กนําเสนอผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขั้นได้
ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน   :  ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์พยายามหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ ให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการการคิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

❤️บันทึกครั้งที่  11❤️ วันศุกร์ ที่24 เมษายน เวลา 12.30  - 15.30 น. 🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈 🎈🎈🎈🎈🎈🎈 🎈🎈🎈 สิ่งที่ได้เรียน...