วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

❤️บันทึกครั้งที่  11❤️
วันศุกร์ ที่24 เมษายน
เวลา 12.30 - 15.30 น.

🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈

สิ่งที่ได้เรียนรู้
คิดสร้างสรรค์
   ❤️❤️วิทยาการทางด้านสมองทำให้เราทราบได้ว่า คนเรามีศักยภาพทางการคิด เกิดจากสมองทั้ง 2 ซีก คือ ซีกซ้ายและซีกขวาของเราทำงานและพัฒนาการคิดตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ สมองทั้งสองซีกจะทำงานเชื่อมโยงไปพร้อมกันในทุกกิจกรรมการคิด การพัฒนาสมองของเด็กจึงจัดผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้สมองทั้งสองซีกทำงานสมดุล
 💜💜กิจกรรมสร้างสรรค์จึงเป็นกิจกรรมที่จะช่วยเชื่อมโยงการทำงานของสมองและพัฒนาจินตนาการซึ่งสัมพันธ์กับประสบการณ์ของเด็ก เด็กจะแสดงออกมาเป็นภาพ รูปร่าง และรูปทรง จึงเป็นโอกาสที่เด็กจะได้ฝึกสมองจากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีหลากหลายแบบ เป็นการให้เด็กกระทำ และสังเกตซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เด็ก เด็กจะเกิดความสามารถในการพัฒนาความคิดรวบยอดและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ได้ต่อไป อีกทั้ง กิจกรรมสร้างสรรค์ยังสามารถพัฒนาจิตเด็กได้อย่างมีคุณภาพ คือให้เป็นผู้มีความอดทนเพราะต้องสร้างสรรค์ผลงานของตนจนสำเร็จ จะสร้างความภูมิใจต่อตนเองหรือสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองได้ เนื่องจากการเปิดโอกาสให้เด็กพึ่งตนเองในการทำสิ่งต่างๆ ตามความสามารถ เป็นการกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงความมีคุณค่าในตนเอง เด็กจะเป็นผู้มีความมั่นใจและกล้าที่จะผจญปัญหา ในขณะเดียวกัน เด็กจะได้รับการพัฒนาทางสังคม เพราะเด็กจะได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเพื่อน เด็กจึงเรียนรู้การแก้ปัญหาการทำงาน รู้จักปรับปรุงหรือเปลี่ยน แปลงตนเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคม เมื่อเด็กสร้างผลงานสิ้นสุดแล้ว การชักชวนให้เด็กชื่นชมผลงานของตนเอง เป็นการปลูกจิตสำนึกเด็กให้เห็นคุณค่าของศิลปะที่ตนสร้างขึ้น และฝึกฝนการแสดงความชื่นชมในความสวยงาม สร้างความเพลิดเพลินและความสุขจากสิ่งใกล้ๆ ตัวเด็กเอง
💚💚บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์💚💚
1. การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
2. การจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์
3. การวัดประเมินผล
4. ให้ความสนใจเด็ก
5. การจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ สื่อวัสดุอุปกรณ์

💜คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย💜
1. มีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก 
2. มีความรอบรู้ มีความคิดสร้างสรรค์สนใจศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ
3. มีความสนใจรอบด้าน สนใจกิจกรรมต่างๆ 
4. อารมณ์ขัน มีสุขภาพจิตดีและช่วยความคิดอ่าน
5. มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
6. มีความคิดสร้างสรรค์ มีรสนิยมดีการแต่งกายเหมาะสมกับวัย
❤️คุณลักษณะของพ่อแม่ที่ช่วยสร้างความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก❤️
          อัมพวัน อัมพรสินธุ์(2554: 107) กล่าวว่า การอบรมเลี้ยงดูลูกเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พ่อแม่ที่มีบุคลิกภาพต่อไปนี้จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้เด็ก
1. มีลักษณะยืดหยุ่น ใจกว้าง เป็นคนที่เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดความคิดเห็นของตนเป็นหลักจนเกินไป และเป็นคนมีเหตุผล
2. มีลักษณะไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์จนเกินไป จริงๆ แล้วการอยู่ในสังคมหรือกาทำงานหรือการอยู่ร่วมกันในครอบครัวก็ควรมีกฎเกณฑ์แต่กฎเกณฑ์ต่างๆ มักจะกำหนดขึ้นจากบุคคลกลุ่มหนึ่งในสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งบางทีก็ไม่เหมาะสมหรือถูกต้องทุกอย่าง ทุกประการสมอไป ดังนั้นการที่พ่อแม่ไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์จนเกินไป จะทำให้เด็กมีความเข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงได้ มีการประยุกต์ได้
3. มีความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอๆ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเสมอ ไม่ว่าจเป็นลักษณะการทำงาน การแต่งกาย การจัดบ้าน การจัดสวนในบริเวณบ้าน การปรับปรุงที่ทำงาน
4. มีลักษทันสมัย รับรู้ และติดตาม รวมทั้งมีความคิดที่จะนำวิทยาการหรือเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในบ้านหรือในกิจการงาน
5. มีลักษณะอยากรู้อยากเห็น สนใจค้นคว้าวิชาความรู้อยู่เสมอ อย่างต่อเนื่อง นใจไปดูการจัดนิทรรศการต่างๆ สนใจไปฟังความคิดจากการอภิปรายต่างๆ ตามความเหมาะสม
6. มีลักษณะไม่ยึดติดกับกิจวัตรประจำวันมากจนเกินไป มีความยืดหยุ่นได้ตามเหตุการณ์เฉพาะหน้าและเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน แบบฉบับอันเป็นคุณลักษณะของพ่อแม่ที่มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์เหล่านี้ เมื่อเด็กๆ ได้ใกล้ชิดจะสามารถซึมซับเอาแบบฉบับนี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของเขา
💙💙การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์💙💙
          ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าจะเกิดการปรับตัวให้ทันยุคสมัยและทันกับสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากพลเมืองมีความกล้าคิด กล้าที่จะใช้จินตนาการ และสามารถทำให้จินตนาการเป็นจริงและเกิดประโยชน์ได้ มนุษย์เรามีพลังความคิดเหมือนกัน แต่อาจมีความมากน้อยแตกต่างกัน พลังความคิดมี ประการด้วยกัน คือ
1. สามารถสะสมความรู้ (Absorb knowledge)
2. สามารถจดจำและนึกถึงความรู้นั้นได้ (Memorize and recall knowledge)
3. สามารถวิเคราะห์หาเหตุผลได้ (To reason)
4. สามารถสร้างสรรค์ (To reasonมองเห็นเหตุการณ์ไกล และสามารถนำเอาความคิดไปปฏิบัติได้
💛💛การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก💛💛
          ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, (2556: 224) กล่าวว่า ครูและผู้ปกครองควรปฏิบัติ ดังนี้
1สร้างบรรยากาศที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ บรรยากาศที่เต็มไปด้วยการยอมรับและการกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ รายการส่งเสริมให้เด็กมีความคิดของตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่สกัดกั้นความคิดเห็น ให้ความสนใจในสิ่งที่เด็กทำ
2. แสดงความตื่นเต้นกับกิจกรรมที่ไม่ได้ตระเตรียมมาก่อนให้มากเท่ากับกิจกรรมที่วางแผนไว้แล้ว
3. สังเกตสิ่งที่เด็กแสดงออกซึ่งการสร้างสรรค์ตามธรรมชาติ
4. พยายามเข้าใจเด็กด้วยการตั้งคำถาม ศึกษารายกรณีเกี่ยวกับตัวเด็ก
5. จัดกิจกรรมระดมสมอง (Brainstorming) เป็นเทคนิคเพื่อรวบรวมทางเลือกและการแก้ปัญหา โดยให้โอกาสในการคิดอย่างอิสระที่สุดและไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ระหว่างการคิด เพราะการวิพากษ์วิจารณ์จะเป็นการขัดขวางความคิดสร้างสร้างสรรค์
6. การปลูกฝังความกล้าที่จะทำสิ่งสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคที่ใช้การตั้งคำถามง่ายๆ เพื่อให้คิดโดยจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นเมื่อฝึกฝนมากเข้าก็จะช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้มีมากขึ้น
7. การสร้างความคิดใหม่ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งโดยใช้การแจกแจงวิธีการในการแก้ปัญหาหนึ่งมาให้ได้ 10 วิธีการจากนั้นก็แบ่ง 10 วิธีการที่ได้ออกเป็นวิธีการย่อยๆ ลงไปอีก เพื่อให้ได้ทางเลือกหรือคำตอบที่ดีที่สุด
8. การตรวจสอบความคิด เป็นเทคนิคที่ใช้การค้นหาความคิดหรือแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยการตรวจสอบความคิดของผู้ที่เคยทำไว้แล้ว
ประเมินตนเอง  :  ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน   :  ตั้งใจเรียน
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์พยายามหากิจกรรมมาให้นักศึกษาทำ ให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการการคิด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

❤️บันทึกครั้งที่  11❤️ วันศุกร์ ที่24 เมษายน เวลา 12.30  - 15.30 น. 🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈 🎈🎈🎈🎈🎈🎈 🎈🎈🎈 สิ่งที่ได้เรียน...