วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

❤️บันทึกครั้งที่  1❤️
วันจันทร์ ที่20 มกราคม  
เวลา 12.30 - 15.30 น.
🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈


สิ่งที่ด้เรียน
       ทักษะการคิด หมายถึง ความสามารถในการคิดในลักษณะต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของกระบวนการคิดที่สลับซับซ้อน ทักษะการคิดอาจจัดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทคือ
1.ทักษะพื้นฐาน (basic skills)หมายถึง ทักษะการคิดที่เป็นพื้นฐานเบื้องต้นต่อการคิดในระดับที่สูงขึ้นหรือซับซ้อน  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทักษะการสื่อความหมายที่บุคคลทุกคนจำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารความคิดของตน
         -ทักษะการสื่อความหมาย (communication skills) 
         -ทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป (core or general thinking skills)
2.ทักษะการคิดขั้นสูงหรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน (higher order or more complexed thinking skills)

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
เป็นความคิดที่มีลักษณะอเนกนัย ซึ่งประกอบด้วย
1. 
ความคิดริเริ่ม (Originality) มีลักษณะแปลกใหม่แตกต่างจากของเดิม / คิดดัดแปลง ประยุกต์เป็นความคิดใหม่
2. 
ความคิดคล่องตัว (Fluency)
3. 
ด้านถ้อยคำ (Word Fluency) หลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้และไม่ซ้ำแบบผู้อื่น
4. 
ด้านความสัมพันธ์ (Associational Fluency) จากสิ่งที่คิดริเริ่มออกมาได้อย่างเหมาะสม
5. 
ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความคิดที่สามารถนำเอา ความคิดริเริ่มนั้นมา แสดงออก ให้เห็นเป็น รูปภาพได้อย่างรวดเร็ว
6. 
ความคิดคล่องด้านความคิด (Ideational Fluency) เป็นการสร้างความคิดให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คิดได้ทันที ที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. 
ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) มีความเป็นอิสระคิดได้หลายๆอย่าง
8. 
ความคิดสวยงามละเอียดละออ (Elaboration) มีความรอบคอบ มีความคิดสวยงาม ด้านคุณภาพ มีความประณีต ในความคิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพในทุกๆด้าน

กระบวนการของควาคิดสร้างสรรค์
1. เกิดสิ่งกระทบความรู้สึกให้ต้องคิด เป็นต้นเหตุหรือสาเหตุของเรื่องที่ต้องใช้ความคิดในการทําให้ เรื่องนั้นๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์
2. รวบรวมข้อมูล เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทุกประเด็น ทุกแง่มุม
3. แจกแจง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล นําข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาแจกแจง วิเคราะห์ ความสัมพันธ์หรือดูความเชื่อมโยงระหว่างกัน
4. การคิดและทําให้กระจ่างชัด จัดระบบความคิดตามข้อมูลที่ได้แจกแจงและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ แล้ว ให้สามารถมองเห็นภาพ ขั้นตอน ความเชื่อมโยงของแต่ละส่วนได้อย่างชัดเจน
5. แสดงออก เป็นการนําเสนอผลจากการคิดเพื่อทดสอบความคิดและพิสูจน์ให้เห็นจริง

สรุปความหมายและขแบเขตความคิดสร้างสรรค์
1. ความสามารถ (ability) ในการจินตนาการหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งมิได้เริ่มต้นจากสูญญากาศ แต่เป็นการสร้างสรรค์ความคิดใหม่จากการผสมผสาน(combining หรือ synthesizing) เปลี่ยนแปลง(changing) หรือการนำกลับมาใช้ใหม่(reapplying) ความคิดสร้างสรรค์บางเรื่องอาจน่าทึ่งและยอดเยี่ยมมาก บางเรื่องอาจจะเป็นเรื่องพื้น ๆธรรมดาที่คนส่วนใหญ่มองข้ามความจริงทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์พอตัวทีเดียว ดูได้ตั้งแต่วัยเด็ก แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น ความคิดสร้างสรรค์มักจะถูกครอบงำด้วยกระบวนการศึกษา แต่สามารถจะปลุกให้ตื่นได้ เพียงแต่ว่าต้องมีความตั้งใจที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่และให้เวลา
2. ทัศนคติ (attitude) คือ ความสามารถที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงและสิ่งใหม่ ๆพร้อมที่จะเล่นกับความคิดที่หลากหลายและความเป็นไปได้(probability) มีความคิดที่ยืดหยุ่น ชอบเห็นสิ่งที่ดีขึ้นและพร้อมที่จะปรับปรุงอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น ชอคโกแลตไม่จำเป็นต้องเคลือบด้วยสตอร์เบอรี่เสมอไป อาจจะเคลือบด้วยถั่วลิสงหรือผลไม้ชนิดอื่นได้
3. กระบวนการ (process) ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะทำงานหนักเพื่อพัฒนาความคิดและแนวทางแก้ปัญหาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับ ความคิดสร้างสรรค์ที่เยี่ยมยอดไม่เคยปรากฏว่าเกิดจากการคิดเพียงครั้งเดียวหรือจากกิจกรรมสั้น ๆ ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์รู้ดีว่า การปรับปรุงให้ดีขึ้นสามารถทำได้เสมอ

สรุปเป็นภาพรวม




ประเมินตนเอง  : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ประเมินเพื่อน ตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้คิด และให้ตอบคำถาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

❤️บันทึกครั้งที่  11❤️ วันศุกร์ ที่24 เมษายน เวลา 12.30  - 15.30 น. 🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈🎈 🎈🎈🎈🎈🎈🎈 🎈🎈🎈 สิ่งที่ได้เรียน...